สถานการณ์เงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับทั่วโลก ไทยยังอยู่ในเกณฑ์อัตราเงินเฟ้อต่ำ อยู่อันดับ 20 ของโลก จาก 134 เขตเศรษฐกิจที่มีการประกาศตัวเลข และเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มีนาคม 2566 จากเว็บไซต์ tradingeconomics)

โดยสถานการณ์เงินเฟ้อของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.79 โดยชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

ซึ่งมีปัจจัยสำคัญจากการชะลอตัวของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นเพียงร้อยละ 5.03 ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก ทางด้านสินค้ากลุ่มอาหารสดหลายชนิดเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2566 ก็มีราคาลดลง

ทั้งข้าวสาร(ข้าวเจ้า) เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ ผักสด และผลไม้สด นอกจากนี้ สินค้าในกลุ่มเครื่องประกอบอาหารราคาก็ลดลง โดยเฉพาะน้ำมันพืช ทั้งน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลือง จากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง

คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยจะชะลอตัวลงต่อเนื่อง ตามราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดหลายรายการที่คาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา และราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ระดับต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับฐานราคาในเดือนมีนาคม 2565 ค่อนข้างสูง รวมทั้งการส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มลดลงตามอุปสงค์โลก

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 2.0 – 3.0 ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน

ด้าน Krungthai COMPASS มองว่า ยังมีปัจจัยกดดัน "เงินเฟ้อ" อีก 2 ปัจจัยหลัก หนึ่งในนั้นคือ "การทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าต่อเนื่อง"

ผู้ประกอบการยังทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าในหมวดพื้นฐานต่อเนื่อง

แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อหมวดพื้นฐานจะชะลอลงเล็กน้อยจากผลของฐานในปีก่อนที่ปรับสูงขึ้น แต่ระดับราคาสินค้าในหมวดพื้นฐานยังคงทยอยปรับเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากการแบกรับต้นทุนของผู้ประกอบการในช่วงที่ผ่านมา และมีความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการอาจส่งผ่านราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวอาจหนุนให้ปรับขึ้นราคาสินค้าต่อได้ โดยตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานเทียบเดือนก่อนหน้า (MoM) ยังเพิ่มต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 จึงยังคงมีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อพื้นฐานจะทรงตัวในระดับสูง

Krungthai COMPASS คาดว่า กนง. มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน พ.ค. สู่ร้อยละ 2.0 เพื่อรับมือกับแรงกดดันด้านราคาในหมวดพื้นฐาน (สัดส่วน 67.06%) ที่ยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งหากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแรงจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มได้อีก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมด้านต้นทุนพลังงานในระยะข้างหน้า

เงินเฟ้อไทย มี.ค. เพิ่ม 2.83% ชะลอลงต่ำสุดรอบ 15 เดือน เข้ากรอบเป้าหมาย ธปทคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้.

ไทยพาณิชย์ ขึ้นดอกเบี้ย "เงินฝาก-กู้" มีผลตั้งแต่ 6 เม.ย. 2566

จับตาราคาพลังงานที่อาจกดดันอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้

การประชุมโอเปกพลัสเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2566 ได้มีมติลดกำลังการผลิตน้ำมันลงราว 1.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากความกังวลต่อเศรษฐกิจถดถอยและอุปทานน้ำมันในตลาดโลกตึงตัว ซึ่งเป็นการปรับลดเพิ่มเติมจากที่มีการลดกำลังการผลิตอยู่แล้ว ส่งผลให้การผลิตน้ำมันจากกลุ่มโอเปกพลัสจะลดลงทั้งหมดราว 3.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 3.7% ของอุปสงค์โลก การปรับลดกำลังการผลิตดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 7% สู่ระดับ 84 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (ณ วันที่ 3 เม.ย. 66)

โดย Krungthai COMPASS ประเมินว่าหากราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานอาจกลับมาเร่งสูงขึ้นได้จากราคาน้ำมันขายปลีกกลุ่มเบนซินเป็นสำคัญ แต่ผลกระทบต่อราคาน้ำมันดีเซลค่อนข้างจำกัดเนื่องจากปัจจุบันภาครัฐได้ขยายมาตรการลดหย่อนภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 5 บาท/ลิตร ไปจนถึงวันที่ 20 ก.ค. 2566

 เปิดอันดับเงินเฟ้อไทย  ด้านผู้ประกอบการยังเดินหน้าขึ้นราคาสินค้า

By admin