แม้มีการชี้แจงผ่านสื่อต่างประเทศไปบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไร้วี่แววว่าสุดท้ายแล้ว…จะมีการเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. นัดพิเศษ เพื่อตามใจรัฐบาล ยอมกัดฟันกดดอกเบี้ยนโยบายลงหรือไม่? จากปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงอยู่ที่ 2.50%
4 เหตุผลคงดอกเบี้ย
กนง.ได้หยิบยกเหตุผลใน 4 ประเด็น ที่ยังต้องตัดสินใจคงดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม เริ่มจาก 1. เศรษฐกิจที่ขยายตัวชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดจากแรงส่งจากภาคต่างประเทศที่น้อยลง และผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง 2.การลดอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มแรงส่งต่อเศรษฐกิจได้ไม่มากนัก ในบริบทที่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่อง และไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำได้ อีกทั้งยังเป็นการใช้โพลิซี สเปซ หรือพื้นที่ทางนโยบาย ที่มีจำกัดอย่างไม่คุ้มค่า
ส่วนเหตุผลที่ 3.ปัญหาเชิงโครงสร้างอาจมีนัยต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่เป็นกลางต่อเศรษฐกิจ ซึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่ผลกระทบดังกล่าวประเมินว่ามีไม่มาก อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนสูง จึงควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ความชัดเจนที่มากขึ้น และ 4. ต้นทุนของการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเกินไป คือการกระตุ้นการสร้างหนี้ใหม่ให้กับระบบเศรษฐกิจที่ปัจจุบันอยู่ในที่ระดับสูงมากอยู่แล้ว และอาจทำให้กระบวนการลดหนี้ ที่กำลังคืบหน้าหยุดชะงัก สุดท้ายอาจทำให้เกิดการแสวงหาผลตอบแทนที่มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ไม่มีการพัฒนาด้านศักยภาพการผลิต หรือแม้แต่ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรอาจลดลง จนส่งผลต่อเนื่องและสะสมความเปราะบางให้กับระบบเศรษฐกิจมากขึ้นไปอีก
พร้อมปรับถ้า ศก.เปลี่ยน
แม้เหตุผลของ กนง.จะมีความชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว แต่ก็ใช่ว่า…จะใช้ไม้แข็งทุบ เพราะสุดท้ายยังระบุไว้ว่า กรรมการมีความยืดหยุ่นและพร้อมปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หากพัฒนาเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ
ที่ผ่านมา มีคำอธิบายของผู้ว่าแบงก์ชาติ ที่ให้สัมภาษณ์ไว้กับสำนักข่าวต่างประเทศตอนหนึ่งระบุว่า “ถ้าลดดอกเบี้ยก็ไม่ได้ทำให้นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายมากขึ้น หรือทำให้บริษัทจีนนำเข้าปิโตรเคมีจากไทยมากขึ้น หรือทำให้รัฐบาลกระจายงบประมาณได้เร็วขึ้นทั้ง 3 ปัจจัยนี้เป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจชะลอตัว” แม้คำตอบนี้จะทำให้แรงเสียดทานจากฝ่ายไม่เห็นด้วยเดินหน้าออกมาตอบโต้จนเต็มฟีดในโลกออนไลน์ก็ตาม สุดท้าย!! ความชัดเจนก็คือความไม่ชัดเจนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ส่ง “ศุภวุฒิ” คุมสภาพัฒน์
ต่อให้ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง จะออกมาเรียกร้องให้เกิดการประชุม กนง.นัดพิเศษ เพื่อปรับลดดอกเบี้ยลง เป็นครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 หลังจาก 3 ครั้งที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จไปแล้ว รวมไปถึงการส่งสัญญาณจากหน่วยงานมันสมองของรัฐบาลอย่างสภาพัฒน์ ที่ล่าสุด ได้ออกมาแถลงอย่างเป็นทางการให้แบงก์ชาติใช้นโยบายการเงินเข้ามาสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เพราะมาตรการทางด้านการคลังนั้นถูกใช้ไปหมดแล้ว โดยการส่งสัญญาณของสภาพัฒน์ในครั้งนี้ก็ถูกส่งออกมาหลังจากมีการแต่งตั้งประธานบอร์ดสภาพัฒน์คนใหม่ก็คือ “นายศุภวุฒิ สายเชื้อ” ยิ่งทำให้มุมมองของสาธารณะที่มีต่อสภาพัฒน์แปรเปลี่ยนไปไม่น้อย
ลงทุนรัฐหด 20.1%
ทั้งนี้จากการแถลงตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุด ของสภาพัฒน์ ก็ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ของปี 2566 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลของนายเศรษฐา เข้ามาบริหารงานแล้ว 4 เดือน โดยสามารถขยายตัวได้ที่ 1.7% และทั้งปี ขยายตัว 1.9 %หลังสิ้นสุดมาตรการจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐของรัฐบาลชุดก่อน ประกอบกับการบังคับใช้กฎหมาย งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ล่าช้า ก็ส่งผลกระทบไปยังการลงทุนภาครัฐ ที่หดตัวลดลงมากถึง 20.1 % ทีเดียว ขณะที่ในไตรมาส 3 หดตัวลง 3.4% ส่วนไตรมาส 2 หดตัวลง 2.1% โดยเป็นการหดตัวลงหนักมาก ตรงนี้!!จึงเท่ากับว่า เงินจากภาครัฐเพื่อเข้าไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั้นมีน้อยมาก เช่นเดียวกับการอุปโภคหรือการใช้จ่ายของภาครัฐ ยังหดตัวมาตั้งแต่ต้นปี หรือ 4 ไตรมาสติดกันทีเดียวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นั่นหมายความว่า…นโยบายการคลังของภาครัฐไม่สามารถทำงานได้ เพราะมีปัญหาเรื่องเงินงบประมาณ ที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ แม้จะมีเรื่องของการเบิกจ่ายงบประมาณ ปี 66 ในส่วนของการเบิกจ่ายงบประมาณไปพลางก่อนก็ตาม ก็การดำเนินการที่ผ่านมาดูเหมือนจะลุ่ม ๆ ดอน ๆ เพราะไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามที่รัฐบาลต้องการ ตรงนี้ก็เป็นปัญหาใหญ่ ขณะเดียวกันการหวังพึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวก็ไม่เป็นไปตามหวัง เพราะการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อคนต่อทริป กลับลดลงเฉลี่ยเหลือคนละ 36,000 บาท แม้การค้าโลกมีสัญญาณฟื้นตัวแต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับต่ำ จนทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงต่ำกว่าการคาดการณ์
ไม่เข้าเงื่อนไขวิกฤติ
สภาพัฒน์ บอกไว้ด้วยว่า การเติบโตเศรษฐกิจ ที่ชะลอตัว ยังเร็วเกินไป ที่จะสรุปว่า เศรษฐกิจไทยเข้าเงื่อนไขวิกฤตเพราะยังต้องจับตามองความเสี่ยงอื่น ๆ โดยเฉพาะการลดลงของแรงขับเคลื่อนทางการคลัง ภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงผลกระทบจากภาระดอกเบี้ย อยู่ในระดับสูงตลอดจนความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและสภาพภูมิอากาศ โดยเศรษฐกิจที่โตในอัตราต่ำลงนั้น อาจมีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน ว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มไม่ดีแล้ว แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังคงขยายตัวได้ ซึ่งการโตต่ำในปี 2566 หากดูทั้งปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยประสบภาวะความผันผวนจากภายนอกค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ติดลบต่อเนื่อง จนสามารถมาขยายตัวได้ในไตรมาส 4
ส่วนปีมังกรทองนี้ สภาพัฒน์มองว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ในระดับที่ 2.7% แม้จะลดลงจากเดิมที่คาดไว้ว่าน่าจะเติบโต ที่ 3.2% ก็ตาม เพราะมีความเสี่ยงทั้งเรื่องของเศรษฐกิจโลกที่มีเรื่องฉับพลันเกิดขึ้น แม้การส่งออกแม้จะขยายตัวดี แต่ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังมีอยู่ และมีความไม่แน่นอนสูง อีกทั้งเศรษฐกิจจีนที่มีปัญหาภายในอาจส่งผลต่อเนื่องต่อการส่งออกของไทย รวมทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้สภาพัฒน์ต้องหั่นเป้าหมายเศรษฐกิจลดลง
วิกฤติต้องหดตัวนาน
ทั้งนี้ทั้งนั้น…การที่เศรษฐกิจยังไม่เข้าเงื่อนไขของคำว่าวิกฤติ ก็ตรงกับบรรดานักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปที่ต่างมีมุมมองตรงกันว่า เศรษฐกิจไทยในเวลานี้ยังไม่เกิดคำว่า “วิกฤติ” เพราะคำว่า วิกฤติ คือเศรษฐกิจต้องหดตัวต่ำมานาน เสถียรภาพต้องมีปัญหา แม้ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ของปี 66 จะหดตัวติดลบ 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ก็ตาม แต่ก็เพิ่งเกิดขึ้นเพียงไตรมาสเดียว จากสารพัดปัจจัยที่เข้ามากดดัน ขณะที่ในไตรมาสแรกของปี นี้ เครื่องยนต์สนับสนุนเศรษฐกิจยังมีอยู่ ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการอีซี่ อี-รีซีท มาตรการฟรีวีซ่า หรือแม้แต่เรื่องของการส่งออกที่เริ่มพลิกกลับมาเป็นบวกในช่วงไตรมาสสุดท้าย และในเดือนแรกของปี 67 ยังเติบโตต่อเนื่องเป็นบวกที่ 10% โดยเป็นยอดส่งออกที่มากที่สุดในรอบ 19 เดือนที่ผ่านมา ก็ถือว่าเป็นข่าวดีไม่น้อย
โครงสร้างปัญหารากลึก
อย่างไรก็ตามในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจ หากพินิจพิเคราะห์ลงไปให้ลึกถึงราก จะเห็นได้ว่าไม่ว่าสำนักวิจัยเศรษฐกิจใด ก็มีมุมมองมีทิศทางไปในแนวทางเดียวกันว่า เศรษฐกิจไทยมีปัญหาที่โครงสร้างและหยั่งรากลึกมานานหลายสิบปี ทั้งในเรื่องของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ การขาดแคลนแรงงาน รวมไปถึงความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงในหลายอุตสาหกรรม แถมยังถูกซ้ำเติมด้วยปัจจัยภายนอกอีกสารพัด
ที่สำคัญ…ปัจจัยที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ก็คือเรื่องของปัญหาการเมืองในประเทศ ที่ต้องยอมรับว่าความไม่ต่อเนื่อง หรือการต้องเข้ามาแก้ปมปัญหาเดิมที่ฝังรากลึกให้เสร็จภายในเวลารวดเร็ว เพื่อให้ได้อย่างใจ หรือเพื่อให้ได้ตามที่ตบปากรับคำชาวบ้านชาวช่องไว้นั้น ก็คงไม่สามารถทำได้แน่นอน เพียงแต่ว่า หากในช่วงเวลาที่เหลือ หรือเวลาต่อจากนี้ การแก้สถานการณ์ การรับมือ ยังไม่ทันการณ์ มัวแต่โทษฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ หรือโทษ “ดอกเบี้ย” เพราะเป้าหมายที่วางไว้ขับเคลื่อนไม่ได้ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องเช่นกัน
อย่าลืมว่า!! คนไทยทั้งประเทศที่เทคะแนนเสียงให้กับ ส.ส.ของตัวเอง ให้กับรัฐบาล เพราะเค้าต่างฝากความหวัง ฝากชีวิต เพราะเชื่อมั่นในฝีมือ นั่น…ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ทั้งผู้นำประเทศ ทั้งรัฐบาล ต้องแสดงให้เห็น!!.
ใช้มาตรการการเงินอุ้ม ศก.
“ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) บอกว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้มาตรการทางการคลังไปเกือบหมดแล้ว ทั้งมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว การดึงการลงทุนใหม่ ๆ การเร่งรัดงบประมาณปี67และการเร่งรัดการเบิดจ่ายงบประจำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังในระยะถัดไป คือ การดำเนินมาตรการทางด้านการเงิน เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ โดยเฉพาะการลดภาระหนี้ครัวเรือนและเอสเอ็มอีด้วยการดำเนินมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนต่างของดอกเบี้ยของเงินฝากและเงินกู้ ที่ต้องเน้นไปที่กลุ่มครัวเรือนและเอสเอ็มอีเพื่อให้ช่องว่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากแคบลง รวมถึงมาตรการผ่อนคลายบัตรเครดิต โดยการกำหนดอัตราการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำจาก8%เป็น5%ไปอีกสักระยะหนึ่ง เพื่อให้เอสเอ็มอีที่ใช้บัตรเครดิตในการประกอบธุรกิจหรือภาคครัวเรือนสามารถที่จะมีกำลังการใช้จ่ายมากขึ้น หากดำเนินมาตรการนี้ควบคู่ไปกับมาตรการดอกเบี้ยเงินกู้ ก็จะช่วยให้หนี้เอสเอ็มอีที่กำลังจะกลายเป็นหนี้เสียหรือเอ็นพีแอลปรับดีขึ้นได้ โดยเน้นว่าเป็นมาตรการด้านการเงินไม่ใช่มาตรการด้านดอกเบี้ยเท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้นปัญหาเรื่องหนี้จะเพิ่มสูงขึ้น โดยยืนยันว่าไม่ได้ถูกกดันมาจากรัฐบาลแต่อย่างใด
กดดันลดดอกเบี้ย 10 เม.ย.
“อมรเทพ จาวะลา” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ระบุว่า เปิดเผยว่า ดอกเบี้ยไม่ใช่ยารักษาทุกโรค หากหวังพึ่งพาดอกเบี้ยนโยบาย การลดดอกเบี้ยเพียง 0.25% หรือ 0.50% ไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องลดลงถึง 1.25% จึงจะมากพอ ซึ่งเป็นการปรับลดในระดับวิกฤติการเงิน และเป็นระดับเดียวกับก่อนเกิดวิกฤติโควิด แต่ผลข้างเคียงของการลดดอกเบี้ยเช่นนี้ จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า และอาจเป็นการประกาศสงครามค่าเงินกับเพื่อนบ้าน เพราะบาทที่อ่อนจะแย่งชิงความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง และอาจลามเป็นการอ่อนค่าของค่าเงินในภูมิภาคได้ในภายหลัง
ทั้งนี้ประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจที่น่าติดตาม ระหว่างรัฐบาลที่คาดหวังการลดดอกเบี้ยเพื่อพยุงเศรษฐกิจกับแบงก์ชาติที่ยังตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ความขัดแย้งด้านทิศทางดอกเบี้ยมีส่วนกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ โดยในช่วงสัปดาห์การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เงินบาทอ่อนค่าที่สุดในภูมิภาค และโดยเฉพาะหลังตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 66 ขยายตัวต่ำจากปีก่อนหน้า และหดตัวเทียบไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งย้ำถึงแรงกดดันในการลดดอกเบี้ยในวันที่ 10 เม.ย.นี้ มากขึ้น โดยหนทางแก้เกมที่ดีที่สุด คือ ประสานนโยบายการเงินและการคลัง
เศรษฐกิจขยายตัวต่ำ
“บุรินทร์ อดุลวัฒนะ” กรรมการผู้จัดการ และ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด บอกว่า การลดดอกเบี้ยในเวลานี้ถือว่ามีความเสี่ยงน้อย แม้มีเงินทุนต่างประเทศไหลออกก็ไม่รุนแรงเท่ากับช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งเพราะช่วงนั้นมีหนี้ต่างประเทศเยอะ แต่ตอนนี้มีหนี้ต่างประเทศน้อย ธนาคารอาจมีไว้รองรับลูกค้าจากต่างประเทศ หรือไว้ไปลงทุนในต่างประเทศไม่ใช่เป็นการก่อหนี้แล้วมาลงทุนในประเทศ และยังมองไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินนัดพิเศษ นอกจากเกิดวิกฤติจนรอไม่ได้แล้ว เช่น กรณีการเกิดโควิด หรือการล้มละลายของ เลห์แมนบราเธอร์ส ตอนนี้เศรษฐกิจไทยถึงขั้นนั้นหรือไม่ ซึ่งจากการประเมินแล้วไม่ถึงขั้นที่เศรษฐกิจไทยจะรอไม่ได้
อย่างไรก็ตามศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินว่า กนง.จะลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปีหรืออาจเร็วกว่านั้นได้ หากตัวเลขเศรษฐกิจต่ำกว่าที่ธปท.คาดการณ์ โดยในปี 66 คาดการณ์เศรษฐกิจว่าจะขยายตัวได้ที่ 2.4–2.5% แต่เติบโตได้เพียง 1.9% ตามตัวเลขของสภาพัฒน์ ซึ่งต่ำกว่าที่หลายสำนักเศรษฐกิจคาดไว้ เพราะโตจากเดิมแค่0.5%แปลว่าเศรษฐกิจของไทยเพิ่งกลับมาฟื้นใช้เวลา4ปีเต็ม ๆ แต่ขยับจากเดิมเพียง0.5%ถือว่าน้อยมาก หากเทียบกับเวียดนามที่ขยับจากเดิม20%อินโดนีเซีย มาเลเซีย ขยับจากเดิมเกือบ10%ส่วนของไทยขยับไม่ถึง1%
ทีมเศรษฐกิจ